CCPIT และหอการค้าไทย-จีน ร่วมลงนาม MOU โชว์มาตรฐานตรวจสอบคุณภาพส่งออกสินค้าไทย - Thailand Times

Breaking

Post Top Ad

Monday 15 February 2021

CCPIT และหอการค้าไทย-จีน ร่วมลงนาม MOU โชว์มาตรฐานตรวจสอบคุณภาพส่งออกสินค้าไทย

หอการค้าไทย-จีน เปิดโต๊ะลงนาม ซี.ซี.ไอ.ซี (ประเทศไทย) องค์กรชั้นนำของจีน ให้บริการตรวจสอบคัดกรองคุณภาพมาตรฐาน เพิ่มช่องทางการส่งออกผลไม้ไทย วางเป้าปี’64 การค้า-การลงทุน ไทย -จีน มูลค่ารวมแตะ 140,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หลังได้วัคซีนควบคุมโควิด 19 เตรียมโรดโชว์ 22 มณฑล เดินหน้าเจรจาขับเคลื่อนการค้า การลงทุน สองประเทศ มั่นใจจีนเล็งไทยเป็นฐานการผลิตอันดับต้นในกลุ่มอุตสาหกรรม New S Curve ปักหมุดในอีอีซี

นายณรงค์ศักดิ์  พุทธพรมงคล ประธานกรรมการหอการค้าไทย-จีน เปิดเผยว่า วันนี้ (15 กุมภาพันธ์ 2564) ได้ลงนามความร่วมมือ “หุ้นส่วนยุทธศาสตร์ ความร่วมมือแบบ วิน-วิน”  กับ บริษัท ซี.ซี.ไอ.ซี  (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมขยายการส่งออกของสมาชิกในการทำธุรกิจส่งออกไทยไปยังตลาดจีน ภายใต้กฎระเบียบกฎหมาย หลักเกณฑ์  วิธีการ และเงื่อนไขการจดทะเบียนผู้ส่งออกผักและผลไม้ รวมทั้งการขอและออกใบรับรองสุขอนามัย และข้อกำหนดเฉพาะสำหรับผลไม้บางชนิด ซึ่งมีส่วนสำคัญในการส่งออกผลไม้ไทยมีความสะดวกรวดเร็วไปจีนมากขึ้น เป็นการลดปัญหา และอุปสรรคในขั้นตอนการส่งออกสินค้า ที่ไม่ตกค้าง และเกิดการสูญเสีย โดยเฉพาะสินค้าทางการเกษตร ดังนั้นความร่วมมือในครั้งนี้ จะเกิดประโยชน์ทั้งสองฝ่ายในการเตรียมความพร้อมการค้าและการลงทุนที่จะเกิดขึ้น หลังจากที่สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด 19 คลี่คลาย จากการที่รัฐบาลมีความชัดเจนในการจัดหาวัคซีนเพื่อป้องกันและควบคุมให้กับประชาชนในประเทศ  


ทั้งนี้ในปี 2563 แม้จะเผชิญกับสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด 19 แต่พบว่ามูลค่าการค้าระหว่างไทยกับจีน ยังมีการขยายตัวเล็กน้อยโดยมีมูลค่ารวม 79,600 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นสัดส่วน 18.16% ของมูลค่าการค้ารวมของไทย ซึ่งการส่งออกสินค้าของไทยไปตลาดจีน มีมูลค่า 29,754 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีการขยายตัวตลอดทั้งปีอัตราเฉลี่ย 2 % โดยเฉพาะการส่งออกผลไม้สด  แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง ของไทยไปยังประเทศจีนมีมูลค่า 2,908 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีการขยายตัว  39.43% โดยสินค้าทุเรียนสดเพียงรายการเดียวมีมูลค่าถึง 1,508 ล้านเหรียญสหรัฐฯ  มีการขยายตัว 77.57% ซึ่งถือว่าเป็นอัตราการขยายตัวที่สูงมาก ซึ่งเป็นผลมาจากการร่วมมือกับบริษัท ซี ซี ไอ ซี (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้ให้บริการการตรวจสอบคุณภาพและตรวจสอบย้อนกลับแก่ผู้ส่งออกทุเรียนไทย

สำหรับการค้าระหว่างไทย -จีน โดยรวมในปี 2564 มีเป้าหมายมูลค่าอยู่ที่ 140,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายหอการค้าไทย-จีน ยังได้มีความร่วมมือกับ สภาส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศแห่งประเทศจีน (CCPT) เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนการค้าการลงทุนทั้งสองประเทศในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารทางเศรษฐกิจการค้า รวมถึง กฎหมาย กฎระเบียบ มาตรการต่างๆแนวโน้มและมาตรฐานอุตสาหกรรม รายงานการวิเคราะห์ด้านการตลาด รวมถึงการเชิญชวนของคณะนักธุรกิจและผู้แทนทางการค้าระหว่างกัน เป็นต้น

อย่างไรก็ตามในปี2564นี้หอการค้าไทย-จีน เตรียมแผนเดินสาย 22 มณฑล เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลทางธุรกิจระหว่างนักลงทุนไทยและ จีน ถึงทิศทางความต้องการของนักธุรกิจจีนจะเข้ามาลงทุนในไทย และความต้องการของนักธุรกิจไทยส่งออกไปจีน โดยเฉพาะหลังจากสถานการณ์โควิดคลี่คลายลงเชื่อว่าการค้าและการลงทุนจะขยายตัว โดยไทยจะเป็นประเทศเป้าหมายที่สำคัญในการเป็นฐานการผลิตเชื่อมโยงไปยังประเทศอาเซียน  ซึ่งกลุ่มอุตสาหกรรมที่จะเข้ามาลงทุนในไทยเน้นในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี คาดว่าจะอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรม New S Curve ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น อุตสาหกรรมไฮเทคโนโลยี อิเล็กทอนิกส์ อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ เป็นต้น

นายหลิ่ว หัวลวี่  กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ซี ซี ไอ ซี (ประเทศไทย) จำกัด  กล่าวว่า บริษัท ซี ซี ไอ ซี (ประเทศไทย) จำกัด ถือเป็นองค์กรที่สำคัญของจีนที่มีหน้าที่ให้บริการด้านการตรวจสอบแหล่งที่มาของสินค้า และสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ ทำให้โรงงานบรรจุภัณฑ์ผลไม้ของไทยหลายแห่งจึงเลือกใช้บริการตรวจสอบย้อนกลับแหล่งกำเนิดของบริษัท CCIC (ประเทศไทย) โดยสมัครใจ เพื่อสร้างความไว้วางใจให้กับหน่วยงานกำกับดูแลของรัฐบาลและผู้บริโภคจีน และยังสามารถป้องกันการสวมสิทธิ์หรือการปลอมแปลงของผลไม้จากประเทศอื่นว่าเป็นผลไม้ของไทยและส่งออกไปยังประเทศจีนอย่างผิดกฎหมาย ซึ่งในปีที่ผ่านมา ได้ให้บริการแก่สินค้าทุเรียน มังคุด และลำไยที่ส่งออกไปยังประเทศจีนกว่า 8,000 ล้านบาท 









No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad


Pages