ทุเรียนกลางกรุง@เกษตรบางเขน
ณ แปลงทดลอง 2 เรือนองุ่นปวิณ ปุณศรี
ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
หลังจากเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2566 ท่านอธิการบดีจงรัก วัชรินทร์รัตน์ ได้ให้เกียรติภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร ตัดทุเรียนชุดแรกของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในรอบ 80 ปีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ 66 ปีภาควิชาพืชสวน ในวันดังกล่าวภาควิชาฯ ได้ให้นิสิตเก่าและผู้สนใจจองทุเรียนผลละ 5,000 บาท นอกจากได้รับประทานทุเรียนคุณภาพสูงแล้ว ยังได้ลดหย่อนภาษี 2 เท่าด้วย ภาควิชาฯ ได้มอบเงินที่ได้จากการอุดหนุนทุเรียนเป็นเงินจำนวน 66,080 บาท (66 คือ ครบรอบ 66 ปีภาควิชาพืชสวน และ 80 คือ ครบรอบ 80 ปีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) ให้กับมหาวิทยาลัยฯ เพื่อสมทบทุนการก่อสร้างโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ในปี พ.ศ. 2566 พันธุ์ทุเรียนที่ออกดอกติดผล ณ แปลงทดลอง 2 เรือนองุ่นปวิณ ปุณศรี ประกอบด้วยพันธุ์กบสุวรรณ มูซานคิง หนามดำ และจันทบุรี 9 ส่วนพันธุ์หมอนทอง สาลิกา ทองลินจง หลงลับแล จันทบุรี 1 และจันทบุรี 4 ไม่ออกดออกติดผล
หลังจากนั้นประมาณเดือนมิถุนายน 2566 ภาควิชาฯ ได้เพาะเมล็ดลูกผสมหนามดำ มูซานคิง และกบสุวรรณ เมื่อต้นงอกและเติบโต ในปี พ.ศ. 2567 จึงนำมาลูกผสมดังกล่าวมาเสียบยอดแบบเสียบข้างบนต้นตอพันธุ์พื้นบ้าน ปัจจุบันต้นพันธุ์ลูกผสมมีการเจริญเติบโตดีมาก คาดว่าน่าจะให้ผลผลิตในอีก 3-5 ปีข้างหน้า
ในปี พ.ศ. 2567 ทุเรียนต้นเดิมที่ออกดอกติดผลในปี พ.ศ. 2566 ออกดอกทั้ง 4 พันธุ์ และพันธุ์หมอนทอง แต่ทุกพันธุ์ไม่ติดผล เนื่องจากช่วงที่เริ่มออกดอกประมาณเดือนธันวาคม 2566 มีไรแดงเข้าทำลายที่ใบแก่ (เป็นชุดใบที่เตรียมพร้อมสำหรับใช้เพื่อการออกดอก) และบางส่วนเข้าทำลายดอก เมื่อดอกบาน จึงไม่สามารถติดผลได้ เพราะต้นทุเรียนมีอาหารสะสมน้อย ดอกจึงร่วงทั้งหมด หลังจากนั้นยังมีเชื้อรา Fusarium เข้าทำลายต้นทุเรียน มีลักษณะอาการยอดแห้งจากปลายกิ่งลงมา และเริ่มสังเกตได้จากไม่มีการแตกยอดใหม่ในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2567 จากนั้นประมาณเดือนมิถุนายน 2567 พบอาการรุนแรงมาก โดยใบร่วงเกือบหมดทั้งต้น โดยเฉพาะพันธุ์หมอนทอง จันทบุรี 9 และสาลิกา ส่วนพันธุ์ที่ใบร่วงเหลือใบน้อยมากประมาณ 20% ได้แก่ จันทบุรี 4 หนามดำ มูซานคิง ในขณะที่พันธุ์กบสุวรรณเหลือใบประมาณ 40-50%
แนวทางแก้ไข ใช้สารเคมีกำจัดเชื้อรา Fusarium ผสมกับน้ำส้มควันไม้ ฉีดพ่น 3 ครั้งทุกสัปดาห์ติดกัน จากนั้นพบว่าทุเรียนเริ่มแตกใบอ่อน/ผลิใบอ่อนออกมา
สำหรับการผลิตทุเรียนในปี พ.ศ. 2567 และเก็บผลผลิตในปี พ.ศ. 2568 นี้การให้น้ำ ให้ปุ๋ย แตกต่างไปจากปี พ.ศ. 2566 เนื่องจากสภาพอากาศที่แตกต่างออกไป เช่น มีช่วงแล้งสลับฝนตกตั้งแต่ระยะช่อดอก จำเป็นต้องให้ปุ๋ยที่มี K เป็นระยะทั้งการให้ทางดินและทางใบ
ดังนั้นเทคนิคสำคัญในการปลูกทุเรียนให้ได้ผลผลิตในปี พ.ศ. 2568 มีดังนี้
1. ทำให้ต้นมีอาหารสะสมเพียงพอ โดยเพิ่มการให้อาหารทางใบบ่อยขึ้น (น้ำตาลซอร์บิทอล และกรดอะมิโม) รวมทั้งธาตุอาหารเสริม ได้แก่ เหล็ก สังกะสี ทองแดง ให้ทุก 10 วัน ติดต่อกัน 6 ครั้ง
2. ประมาณเดือนธันวาคม 2567 ต้นถูกบังแสงจากเงาของต้นนนทรี ทุเรียนสังเคราะห์ด้วยแสงได้น้อย ต้องมีการให้อาหารเสริมทางใบ ได้แก่ น้ำตาลซอร์บิทอล และกรดอะมิโน
3. ต้นทุเรียนต้องเผชิญกับความแล้งสลับฝนตกแล้วได้รับอุณหภูมิต่ำเป็นเวลานาน ต้องมีการจัดการน้ำอย่างเหมาะสม
4. ช่วงจังหวะดอกบานประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ฝนตกหนัก ซึ่งเป็นปัญหาในการผสมเกสร ต้องใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตพืชกลุ่ม ออกซิน (NAA) 4.5% ฉีดพ่นเพื่อช่วยการติดผล
5. ในปี 2566 ใช้เทคนิคการผสมเกสรด้วยวิธีการปาดดอกทุเรียน ทำให้ควบคุมปริมาณดอกที่เหมาะสมในแต่ละกิ่ง ส่งผลให้ได้ผลผลิตที่มีรูปร่างสมบูรณ์ไม่บิดเบี้ยว สำหรับปี พ.ศ. 2568 นี้ ใช้เทคนิคการผสมเกสรด้วยวิธีปัดดอก ซึ่งจะพบจำนวนผลที่มีลักษณะบิดเบี้ยวเกิดขึ้นมากกว่า
ในปี พ.ศ.2568 ทุเรียนออกดอก ติดผล ทั้งหมด 5 พันธุ์ จำนวนประมาณ 60 ผล ได้แก่
1. พันธุ์มูซานคิง ไว้ผลจำนวน 15 ผล ปี 2566 (5 ผล)
2. พันธุ์หนามดำ ไว้ผลจำนวน 1 ผล (10 ผล)
3. พันธุ์กบสุวรรณ ไว้ผลจำนวน 36 ผล (13 ผล)
4. พันธุ์จันทบุรี 9 ไว้ผลจำนวน 1 ผล (5 ผล)
5. พันธุ์จันทบุรี 1 ไว้ผลจำนวน 7 ผล
(ส่วนพันธุ์หมอนทองออกดอก แต่ไม่ติดผล)
เมื่อพิจารณาอายุผลที่เก็บเกี่ยว
พบว่า ในปี พ.ศ. 2568 ทุเรียนแก่เร็วกว่าปี พ.ศ. 2566 ประมาณ 10 วัน ดังตาราง
พันธุ์ |
อายุวันเก็บเกี่ยว (DAA) |
|
|
|
|
ปี 2566* |
ปี 2568** |
มูซานคิง |
90 |
85-87 |
76-80 |
หนามดำ |
100 |
90-92 |
ครบ 90 วัน 30 พ.ค. |
จันทบุรี 1 |
105 |
- |
92 วัน |
กบสุวรรณ |
110 |
105 |
95
วัน (รุ่นที่
2 ประมาณวันที่ 10 มิ.ย. เหลือผลรุ่น 2 ***การแก่เร็วขึ้น) |
จันทบุรี 9 |
130 |
100 |
90 วัน |
No comments:
Post a Comment