เบื้องหลังความสำเร็จ“โครงการ Experiential Learning Program (ELP)” - Thailand Times

Breaking




Post Top Ad

Friday, 14 March 2025

เบื้องหลังความสำเร็จ“โครงการ Experiential Learning Program (ELP)”

เบื้องหลังความสำเร็จ“โครงการ Experiential Learning Program (ELP)”

พลิกโฉมนักศึกษาไทย สู่สนามธุรกิจระดับโลก ผ่านการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง!

โครงการ Experiential Learning Program (ELP) เป็นความร่วมมือระหว่าง สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) และอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มุ่งผลักดันให้นักศึกษาไทยก้าวข้ามกรอบการเรียนรู้แบบเดิม ๆ ด้วยการนำผลงานหรืองานวิจัยของตนไปทดสอบตลาดในต่างประเทศ สำรวจความเป็นไปได้ของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย และเรียนรู้วิธีการขยายธุรกิจในระดับสากล ซึ่งโครงการ ELP ไม่ใช่แค่การเรียนรู้ แต่คือการลงมือทำจริง โดยที่นักศึกษาจะได้สัมผัสประสบการณ์ธุรกิจระดับโลก ทดลองนำไอเดียออกสู่ตลาดจริง ปรับกลยุทธ์ตามสถานการณ์และพิสูจน์ว่าแนวคิดของตนสามารถเติบโตเป็นธุรกิจที่แข่งขันได้จริงหรือไม่และเมื่อเร็วๆ นี้ ELP จัดเปิดกิจกรรม “Knowledge Sharing” โครงการการเรียนรู้จากประสบการณ์เพื่อเร่งการเป็นผู้ประกอบการของสถาบันอุดมศึกษาร่วมกับเครือข่ายพันธมิตรระหว่างประเทศ (Entrepreneurship Acceleration in Higher Education Through Experiential Learning Program with Global Partners: ELP) ปีที่ 2 โดยได้รับเกียรติ

จาก ดร.พันธุ์เพิ่มศักดิ์ อารุณี ผอ.กองขับเคลื่อนและพัฒนาการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และรักษาการที่ปรึกษาด้านพัฒนาการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สป.อว. เป็นประธานกล่าวเปิดงาน ณ อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคเหนือ (จังหวัดเชียงใหม่) ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะการเป็นผู้ประกอบการให้แก่นักศึกษา ผ่าน สองกระบวนการหลัก ได้แก่ กระบวนแรก Outbound Learning ที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ศึกษาตลาดและกระบวนการทางธุรกิจในต่างประเทศ เพื่อเรียนรู้แนวทางการดำเนินธุรกิจระดับสากล และกระบวนที่สอง Inbound Learning ที่ดึงเครือข่ายพันธมิตรจากต่างประเทศเข้ามาร่วมถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ เพื่อสร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อการเติบโตของสตาร์ทอัพในมหาวิทยาลัยไทยอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (STeP) ภายใต้การนำของ รศ.ดร.ปิติวัฒน์ วัฒนชัย ผู้อำนวยการ STeP เป็นหนึ่งในมหาลัยเครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคเหนือ (RSP North) อีกด้วย ซึ่งมี

อาจารย์ ดร.ภวิกา มงคลกิจทวีผล ผู้จัดการทั่วไป และในฐานะผู้ดูแลโครงการ ELP เปิดเผยถึงความก้าวหน้าและความสำเร็จของโครงการว่า ความสำเร็จนี้เกิดขึ้นได้จากความร่วมมือของเครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค มหาวิทยาลัยเครือข่าย

และพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงทีมนักศึกษาและทีมดำเนินงานที่ทุ่มเททำงานร่วมกันอย่างเต็มที่ ปัจจุบันโครงการกำลังก้าวเข้าสู่ปีที่ 3 โดยมีนักศึกษาที่ได้ไปศึกษาดูงานแลกเปลี่ยน ณ ต่างประเทศแล้วกว่า 70 คน และมีผู้เข้าร่วมโครงการแล้ว

เกือบ 2,000 คนทั่วประเทศ โดย ELP ยังเป็นโครงการที่ส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริง เพื่อเร่งพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาให้ก้าวสู่การเป็นผู้ประกอบการระดับสากล ผ่านการได้รับสนับสนุนจากสำนักงานปลัดกระทรวง อว. ตลอดจนเครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ ที่ร่วมให้คำแนะนำและช่วยกำหนดแนวทางการดำเนินงานให้โครงการบรรลุเป้าหมายที่วางไว้

ตลอดระยะเวลาสองปีที่ผ่านมา ELP ได้พัฒนาแนวทางการเรียนรู้และกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง โดยในปีแรก (พ.ศ.2566)มุ่งเน้นไปที่การเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากสตาร์ทอัพในต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็น การสร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อสตาร์ทอัพ การฝึกฝนทักษะการ Pitching และการทำงานร่วมกับ Incubator ชั้นนำในระดับสากล เพื่อเสริมสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่งสำหรับการเป็นผู้ประกอบการ โดยในปีถัดมา (พ.ศ.2567) โครงการได้ขยายขอบเขตการเรียนรู้ไปอีกขั้น ด้วยการมุ่งเน้นกระบวนการทดสอบตลาด (Market Validation) โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษานำผลิตภัณฑ์หรือบริการของตนออกไปทดสอบตลาดจริง ปรับปรุงและพัฒนา ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า ซึ่งเป็นก้าวสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างความพร้อมให้พวกเขาสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ สมกับชื่อ Experiential Learning Program ที่เน้นการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรงในทุกกิจกรรม ทั้งยังปลูกฝังทักษะความเป็นผู้ประกอบการและมุมมองระดับโลกให้กับนักศึกษาไทยเพื่อเตรียมความพร้อมสู่การเป็นนวัตกรรุ่นใหม่ที่จะขับเคลื่อนประเทศไทยต่อไปในอนาคตสำหรับน้องๆ นักศึกษาที่อยากสัมผัสสนามธุรกิจจริงและขยายไอเดียสู่ระดับโลก สามารถติดตามข่าวสารเพิ่มเติม

เกี่ยวกับโครงการ Experiential Learning Program (ELP) ได้ที่ Facebook Fanpage: อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่: STeP หรือช่องทางต่างๆ ของมหาวิทยาลัยเครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคทั่วประเทศ




No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad


Pages