sacit ตอกย้ำจุดยืนคราฟต์ไทย เพื่อคนเมือง
ผ่าน “sacit เพลินคราฟต์ 2024” สู่ คราฟต์ที่ใช่ ไลฟ์สไตล์ที่คุณชอบ
นางสาวนฤดี ภู่รัตนรักษ์ รักษาการแทนผู้อำนวยการ สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย เปิดเผยในพิธีเปิดงาน sacit เพลินคราฟต์ 2024 ว่า ภารกิจที่สำคัญของ สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ sacit คือ “สืบสาน สร้างสรรค์ ส่งเสริม งานศิลปหัตถกรรมไทย ในทุกมิติอย่างยั่งยืน” เพื่อให้หัตถกรรมไทยที่มีเอกลักษณ์เหล่านี้เป็นที่รู้จัก และเป็นที่ประจักษ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมไปถึงการเสริมสร้างองค์ความรู้ให้กับผู้สร้างสรรค์งานหัตกรรมไทยให้เข้มแข็ง มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดดเด่น น่าสนใจ เข้ากับวิถีชีวิตคนเมือง เพื่อตอบโจทย์เทรนด์ และความต้องการของผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน มีรายได้และสร้างอาชีพอย่างยั่งยืน
โดย sacit เพลินคราฟต์ ก็เป็นหนึ่งในกิจกรรมสร้างการรับรู้ และกระตุ้นตลาด ที่จัดต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 8 มีวัตถุประสงค์ เพื่อเผยแพร่งานหัตถกรรมให้เข้าถึงคนเมือง และสื่อให้งานหัตถกรรมเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการบำบัด และผ่อนคลายสำหรับคนทุกวัย ทุกกลุ่ม มีทั้งการจำหน่ายสินค้าหัตถกรรมจากกลุ่มสมาชิก sacit ครูศิลป์ฯ ครูช่างฯ ทายาทฯ ซึ่งคัดสรรแล้วว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่เข้าถึงง่าย ใช้ได้ในชีวิตประจำวัน ควบคู่ไปกับกิจกรรม workshop และกิจกรรมสันทนาการอื่นๆ เช่น การแสดงของศิลปิน ดารา วงดนตรี เพื่อดึงดูดให้ผู้บริโภคเกิดความสนใจเข้ามาร่วมงาน รวมถึงการเสวนาเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้งานหัตถกรรม ทำให้ผู้ร่วมงานเกิดความสุขใจ เมื่อได้ร่วมงานจากกิจกรรมในงาน และเพื่อสร้างการรับรู้กิจกรรมขององค์กรให้เป็นที่รู้จักทั่วประเทศให้มากขึ้น
“เทรนด์ในปัจจุบัน ผู้คนหันมาสนใจ และให้ความสำคัญกับ งานคราฟต์ งานฝีมือ เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะงานที่มีความเป็นเอกลักษณ์ ไม่เหมือนใคร ผสมผสานไอเดีย เข้ากับความมินิมอล ควบคู่กับความยั่งยืน ซึ่งการจัดงาน sacit เพลินคราฟต์ ในครั้งนี้ ก็ถือเป็นโอกาสให้ผู้ประกอบการ ได้นำงานคราฟต์มานำเสนอต่อสายตาผู้บริโภค นักท่องเที่ยว และกลุ่มคนรุ่นใหม่ ผ่านศูนย์การค้าใจกลางเมือง ซึ่งเป็นหัวใจหลักของงาน และเป็นช่องทางในการเจาะตลาดกลุ่มใหม่ๆ กับผู้ประกอบการในการที่จะคัดสรรคราฟต์ที่ใช่ ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนเมืองได้เป็นอย่างดี” นางสาวนฤดี กล่าว
สำหรับงาน sacit เพลินคราฟต์ 2024 ปีนี้ จัดภายใต้แนวคิด “The Art to Urban Lifestyle : คราฟต์ที่ใช่ ไลฟ์สไตล์ที่คุณชอบ” ที่ถ่ายทอดถึง คราฟต์สู่คนเมือง ซึ่งได้พัฒนาต่อยอดให้นำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ด้วยดีไซน์ที่ทันสมัย ผสมผสานกับนวัตกรรม และคำนึงถึงความยั่งยืน เข้ากับไลฟ์สไตล์ที่หลากหลาย (Today Life’s Craft) และสะดวกมากยิ่งขึ้น สะท้อนถึงความเป็น Soft Power ควบคู่กับความยั่งยืนที่เป็นเมกะเทรนด์ของโลก โดยงานดังกล่าวจะจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องรวม 4 ครั้ง ตลอดเดือนเมษายน – มิถุนายน 2567 แบ่งออกเป็น
- ครั้งที่ 1 วันที่ 9-15 เมษายน ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวสต์เกต
- ครั้งที่ 2 วันที่ 22 - 28 เมษายน ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเชียงใหม่เฟสติวัล
- ครั้งที่ 3 วันที่ 16-22 พฤษภาคม ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลอีสต์วิลล์
- ครั้งที่ 4 วันที่ 18-24 มิถุนายน ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์
ภายในงานได้รวบรวมสินค้างานหัตถกรรม โดยเฉพาะงานคราฟต์ไทยดีไซน์ร่วมสมัย เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนเมือง ไว้อย่างครบครัน ทั้งของตกแต่งบ้าน เครื่องประดับ เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ของขวัญของที่ระลึก คราฟต์แฟชั่น หรืองานหัตถศิลป์ไทย และงานฝีมือประเภทต่างๆ ที่ถูกคัดสรรคุณภาพจากหลากหลายจังหวัดทั่วทุกภาคของประเทศมาจัดแสดงและจำหน่ายในแต่ละครั้งกว่า 40 ร้านค้า รวม 4 ครั้ง กว่า 150 ผู้ประกอบการ โดย sacit ได้คัดสรรผู้ประกอบการให้สอดคล้องกับผู้บริโภค และนักท่องเที่ยว ของแต่ละพื้นที่ของการจัดงาน พร้อมกิจกรรมโปรโมชั่นพิเศษ และของที่ระลึกมากมาย
สำหรับไฮไลต์ในงาน คือ การเปิดโอกาสให้ผู้ที่ชื่นชอบงานคราฟต์ ได้สัมผัสงานศิลปหัตถกรรมผ่านการลงมือทำ (Workshop) ทั้งในแบบดั้งเดิมและร่วมสมัยผ่านกิจกรรม Craft It Your Self : C.I.Y อาทิ ทำมาลัยจากกระดาษ, ทำเครื่องประดับงานปั้นลายไทย, ปักดอกไม้บนผ้าเช็ดหน้า, ปักลวดลายบนกระเป๋ากระจูด, ที่ห้อยกระเป๋าจากลูกปัดมโนราห์ เป็นต้น เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ และงานคราฟต์ที่ถูกใจ ผ่านฝีมือและความคิดสร้างสรรค์ในแบบฉบับ และไลฟ์สไตล์ที่เป็นคุณ นอกจากนี้ ผู้เข้าชมงานยังสามารถเพลิดเพลินไปกับการแสดงและกิจกรรมบนเวทีจากศิลปินดาราชื่อดังจะมาร่วมสร้างความบันเทิง พร้อมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และมุมมองของตน ด้านคราฟต์ไทยมากมาย อาทิ ป็อป-ฐากูร การทิพย์, ปีเตอร์แพน-ทัศน์พล วิวิธวรรธน์, พลอยชมพู-ญานนีน ภารวี ไวเกล, คชา-นนทนันท์ อัญชุลีประดิษฐ์, แป้งโกะ-จินตนัดดา ลัมะกานนท์ เป็นต้น
นางสาวนฤดี กล่าวเสริมว่า การจัดงานในครั้งนี้ คาดการณ์ว่าจะได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้รักงานคราฟต์เดิม ต่อยอดสู่กลุ่มเป้าหมายคนรุ่นใหม่ และนักท่องเที่ยว ประเมินว่าจะมีผู้เข้าร่วมชมงานรวมไม่ต่ำกว่า 20,000 คน และสร้างเงินสะพัดภายในงานไม่น้อยกว่า 30 ล้านบาท และสิ่งสำคัญจะสามารถตอกย้ำให้หัตถกรรมไทยเติบโตได้อย่างยั่งยืนจากการสืบสาน สร้างสรรค์ และส่งเสริมผลงานให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง สอดรับต่อไลฟ์สไตล์ของคนเมือง และคนรุ่นใหม่ในทุกยุคสมัย แสดงให้เห็นถึงคุณค่าของงานคราฟต์ไทยที่ใช่ ในไลฟ์สไตล์ที่คุณชอบ
ทั้งนี้ sacit ขอเชิญชวนคนรักงานคราฟต์ไทยร่วมสมัย สไตล์คนเมือง ร่วมสนับสนุนงานฝีมือคนไทย และร่วมเป็นส่วนหนึ่งของงาน “sacit เพลินคราฟต์ 2024” The Art to Urban Lifestyle : คราฟต์ที่ใช่ ไลฟ์สไตล์ที่คุณชอบ ตลอด 3 เดือนหลังจากนี้ โดยสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Call Center 1289 หรือติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ facebook : สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย หรือ facebook : sacit
No comments:
Post a Comment