พันธมิตร ไทย-จีน วศ.อว. จับมือ TUSPARK WHA และ ADIRC ผลักดันการพัฒนาเทคโนโลยีสมัยใหม่ในประเทศไทย - Thailand Times

Breaking

Post Top Ad

Wednesday 15 March 2023

พันธมิตร ไทย-จีน วศ.อว. จับมือ TUSPARK WHA และ ADIRC ผลักดันการพัฒนาเทคโนโลยีสมัยใหม่ในประเทศไทย

 

วันที่ 14 มีนาคม 2566 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จัดพิธีลงนามในรายงานการประชุมข้อตกลงความร่วมมือ ไทย-จีน ด้านการพัฒนาโครงการนวัตกรรมประเทศไทย (The Signing Ceremony for the Agreed Minutes of Meeting on Thai-Chinese Collaboration and Partnership in Innovation Project Development in Thailand) ระหว่างกองวัสดุวิศวกรรม วศ. กับ TusPark WHA และ Shenzhen Automatic Driving Intelligence Research Center (ADIRC) สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมี ดร.นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ  ดร.โภคิน พลกุล นายกสมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีน  Prof. Zhang Fumin ผู้บริหารระดับสูงของ ADIRC  Dr. Sui Jainfeng CEO of TUSHOLDINGS GBA Group ตลอดจนผู้มีเกียรติจากหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชนจากประเทศไทย ประเทศจีน ผู้แทนจากสถานเอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย สมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทยจีน รวมถึงผู้บริหารระดับสูงของ วศ.อว. เข้าร่วมเป็นสักขีพยานกว่า 60 คน ณ ห้องประชุมวิทยวิถี ชั้น 6 อาคารตั้วฯ กรมวิทยาศาสตร์บริการ

ดร.นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดี วศ. กล่าวว่า ที่ผ่านมา วศ. ได้ประชุมหารือความร่วมมือด้านการพัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรมต่างๆ  โดยเฉพาะด้านยานยนต์ไร้คนขับ (Connected and Autonomous Vehicle :CAV) รวมถึงหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ กับ TusPark WHA และ Shenzhen Automatic Driving Intelligence Research Center (ADIRC) จากสาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2565 โดยได้มีข้อตกลงความร่วมมือกัน ในด้านการส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีอัจฉริยะร่วมกัน ไทย-จีน ด้านการเชื่อมต่ออัจฉริยะ การขับขี่ยานยนต์สมัยใหม่ Internet of Things (IoT) หุ่นยนต์อัจฉริยะ เทคโนโลยีดิจิตอล ด้านการส่งเสริมและพัฒนาเทคโนโลยีอัจฉริยะโดยพัฒนาระบบนิเวศที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนและรองรับการเติบโตของการขับขี่อัจฉริยะ  ด้านส่งเสริมการพัฒนาสนามทดสอบยานยนต์ไร้คนขับ (Cav Proving Ground) ของกรมวิทยาศาสตร์บริการ เพื่อการบริการ ทดสอบคุณภาพ และการวิจัยด้านเทคโนโลยีขับขี่อัจฉริยะทั้งไทยและจีนได้ประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งหน่วยงานทั้ง 3 จะประสานความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องเพื่อรักษาต่อยอดความร่วมมือที่เข้มแข็งต่อไป ทั้งนี้ วศ.เป็นหน่วยงานที่มีบทบาทและภารกิจในด้านการให้บริการด้านปฏิบัติการวิทยาศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมไทย รวมถึงการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนด้วยกลไกการตรวจสอบและรับรองผลิตภัณฑ์ และการวิจัยพัฒนานวัตกรรม ซึ่งปัจจุบัน วศ. กำลังพัฒนาพื้นฐานการบริการทดสอบยานยนต์สมัยใหม่ไร้คนขับ (Cav Proving Ground) EECI อ.วังจันทร์ จ.ระยอง รวมถึงการทดสอบด้านหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมสนับสนุน New S-curve วศ. จึงได้แสวงความร่วมมือกับหน่วยงานของประเทศต่างๆ ซึ่งไทย-จีน ถือเป็นประเทศที่มีความสัมพันธ์กันมาอย่างยาวนานและเป็นจุดเริ่มต้นที่ วศ.ยินดีประสานความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีร่วมกันให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้นในอนาคต






No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad


Pages