สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ( วช ) กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดงาน วันนักประดิษฐ์ประจำปี 2566 ภายใต้แนวคิด ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมด้วยสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม ระหว่าง 2-6 กุมภาพันธ์ 2566 ณ อีเว้นท์ ฮอล 100-102 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา
ดร. วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการ วช. กล่าวว่า การจัดงานวันนักประดิษฐ์ถือเป็นเวทีของนักประดิษฐ์ไทยและนักประดิษฐ์จากนานาชาติที่เปิดโอกาสให้นำผลงานมาจัดแสดงและเผยแพร่ผลงานเพื่อนำเสนอองค์ความรู้และความสามารถสู่สาธารณชน พร้อมทั้งเป็นเวทีที่จะจัดให้มีการมอบรางวัลการวิจัยแห่งชาติและการประดิษฐ์คิดค้นแด่ผู้มีผลงานอันเป็นประโยชน์ทั้งในด้านวิชาการ มีความรู้ความสามารถในการศึกษาวิจัยและประดิษฐ์คิดค้นจนประสบความสำเร็จก่อให้เกิดการพัฒนาประเทศชาติ โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงพระราชทานรางวัล
นอกจากนี้ตลอดการจัดงานวันนักประดิษฐ์ วช ยังได้จัดให้มีเวทีเสวนาเพื่อสร้างการรับรู้ในหัวข้อที่น่าสนใจ และเป็นประโยชน์ เวทีเสวนา ในหัวข้อ พรบ (ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม) ต้องรู้ ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่4 กุมภาพันธ์2566 เป็นอีกหนึ่งเวทีเสวนาที่มีผู้สนใจเข้ารับฟังเป็นจำนวนมาก โดยได้รับเกียรติจาก2 ผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วย ศ กิตติคุณ นพ. สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ ประธานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม(กสว ) และ ดร. มาร์ค เจริญวงศ์ อัยการจังหวัดประจำสำนักอัยการสูงสุด
ศ.กิตติคุณ นพ. สุทธิพรจิตต์มิตรภาพ ประธาน กสว.กล่าวว่า พรบ ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม หรือ ที่เรียกกันว่าTriup Act เป็นเรื่องใหม่ และเป็นกฎหมายที่ใช้เวลายกร่างถึง 10 ปี ประกาศใช้เมื่อเดือนพฤศจิกายน2564 มีผลบังคับใช้ พฤษภาคม 2565 ถือเป็นกฎหมายที่ทำให้วงการวิจัยและการสร้างนวัตกรรมได้รับประโยชน์อย่างมาก และจะนำไปสู่การขับเคลื่อนงานวิจัยให้ต้องมีการนำไปใช้ประโยชน์ภายในเวลาอันรวดเร็ว เพื่อพัฒนาประเทศอย่างเป็นรูปธรรม ปลดล้อคและอุดช่องว่างที่ผ่านมาหลายสิบปีจากการที่รัฐบาลและประเทศชาติลงทุนในงานวิจัยและนวัตกรรมไปอย่างมหาศาลแต่ไม่ได้ถูกนำไปผลักดันให้เกิดผล เนื่องจากกฎหมายเดิมเมื่อรัฐลงทุน ผลงานการวิจัยต่างๆถือเป็นของรัฐตามกฏหมาย ไม่สามารถผลักดันงานวิจัยออกไปสร้างเป็นสินค้าเป็นบริการหรือนวัตกรรมใหม่ได้เลย ในขณะที่กฏหมายใหม่ Triup Act เป็นการปลดล้อคให้ถึงแม้จะเป็นเงินลงทุนของภาครัฐแต่ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นของผู้คิดค้นและภาคเอกชนก็สามารถนำไปลงทุนได้ภายในเวลาอันรวดเร็วเนื่องจากมีกระบวนการตามที่ระบุไว้ในกฎหมายอย่างชัดเจนว่า จะต้องมีการนำงานวิจัยไปใช้ตามแผนภายใน2 ปี สิ่งที่เราอยากเห็นก็คือ ภาคเอกชนจะลดความยุ่งยากของจั้นตอนในการนำงานวิจัยไปใช้จริง ขณะที่นักวิจัยก็จะได้รับประโยชน์จากผู้มาขอใช้ผลงาน ซึ่งจะครอบคลุมไม่เฉพาะภาครัฐ ยังรวมถึงเอกชนครอบถึงชุมชนหรือหน่วยงานที่ดูแลภาคสังคม
“เมื่อเอกชนมีการนำผลงานวิจัยไปลงทุนก็จะเกิดการสร้างงาน เกิดการจ้างงาน มีผลกำไร รัฐบาลจะได้รับประโยชน์จากภาษีที่ตามมาซึ่งเราประมาณการว่าแม้รัฐจะเป็นผู้ให้ทุนวิจัย แต่เอกชนนำไปใช้ ผลกำไรจากเอกชนไม่น้อยกว่า50เปอร์เซนต์จะกลับไปสู่ภาครัฐ ประเทศไทยก็จะเจริญก้าวหน้า หลุดจากสิ่งที่วงการวิจัยเรียกกันว่าThe Valley of Death และนำไปสู่การเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว”
ทั้งนี้ที่ผ่านมาประเทศไทยตั้งเป้าจะสร้างขีดความสามารถสร้างฐานทางเศรษฐกิจให้สูงขึ้น เป็นประเทศอุตสาหกรรม ส่งออกสินค้ามูลค่าสูง แต่เรากลับได้ประโยชน์เข้าประเทศเพียง10เปอร์เซนต์ ที่เหลือตกอยู่ต่างประเทศ ถึงเวลาต้องปรับเปลี่ยนเศรษฐกิจและนวัตกรรม ลดความเหลื่อมล้ำและสร้างรายได้จากผลงานวิจัยและนวัตกรรม ซึ่งเชื่อมั่นว่าหนึ่งในกลยุทธที่จะขับเคลื่อนได้คือTriup Act ฉบับนี้ที่จะเป็นประโยชน์ต่อทุกภาคส่วน ทั้งตัวนักวิจัย นักลงทุนและประเทศชาติ
ดร.มาร์ค เจริญวงศ์ อัยการจังหวัดประจำอัยการสูงสุด กล่าวว่า ที่ผ่านมาเราได้ใช้งบประมาณมหาศาลไปกับการที่จะคิดนวัตกรรมขึ้นมาชิ้นหนึ่งแล้วก็หายไปกับสายลม บางอย่างมีการทำซำ้ บางอย่างควรจะมีimpact ที่สามารถนำไปแก้ปัญหาสาธารณะได้ แต่ไม่ถูกนำไปใช้ นอกจากนี้มีหลายคนที่เกี่ยวข้องกับผลงาน แต่คนที่มีสิทธิกลับเป็นคนๆนี้ ส่วนคนที่ขับเคลื่อนต่อไปควรจะมีสิทธิได้รับประโยชน์หรือไม่ ในฐานะนักวิจัยมีหน้าที่คิดแล้วคนทำอย่างไรจึงจะเป็นเจ้าของ แล้วคนอื่นจะนำไปทำอะไรต่อได้ไม่ คำถามเหล่านี้ได้รับการคลี่คลายอุดช่องว่างทั้งหมดในอดีต ด้วยกฏหมายใหม่Triup Act เป็นกฏหมายที่ให้ความชัดเจนในการแบ่งปันผลประโยชน์ได้อย่างครบถ้วน
“ พรบ ฉบับนี้เป็นการปิดช่องโหว่ทางกฏหมาย เพราะที่ผ่านมาเรามีงานวิจัยมากและมีดารลงทุนมาเป็นสิบสิบปี มีทั้งงานวิจัยและนวัตกรรมขึ้นหิ้งไว้ เราจะทำอย่างไรให้ผู้อยู่ในหน่วยงานวิจัย ผู้รับทุน ผู้ให้ทุน สภานโยบายคิดว่า สุดท้ายงานวิจัยและนวัตกรรมต้องนำไปสู่การปฏิบัติ และเป็นประโยชน์ โดยเฉพาะประโยชน์ต่อสาธารณะและเชิงพาณิชย์ที่จะได้ประโยชน์สูงสุดจากสิ่งที่คิดและวิจัยขึ้นมา โครงสร้างของ พรบ ระบุชัดว่าเมื่อมีงานวิจัยแล้วจะต้องนำไปใช้ประโยชน์ภายในเวลาไม่เกิน2ปี ผู้รับทุน ผู้วิจัยอาจจะเป็นเจ้าของผลงานแต่ถ้าไม่ดำเนิการนำไปใช้ประโนชน์อย่างที่ควรจะเป็น คนอื่นก็อาจจะขอนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้ หรืออาจจะนำไปพัฒนาวิสาหกิจชุมชนได้ ดังนั้นพูดง่ายๆว่า โครงสร้างของ พรบ ฉบับนี้พยายามปิดช่องโหว่ทำให้งานวิจัยได้รับการผลักดันให้เป็นประโยชน์อย่างแท้จริง และยังระบุชัดเจนว่า ไม่ว่าใครจะเป็นเจ้าของผลงานหรือผู้รับทุนผู้ให้ทุนหรือผู้ร้องขอเพื่อใช้ประโยชน์ ทุกคนต้องให้สิทธิประโยชน์กับผู้วิจัย ดังนั้นนักวิจัยจะมีเครื่องมือที่ทำให้มั่นใจว่าผลงานจะไม่ถูกขโมย การมี พรบ ฉบับนี้ทำให้มีเครื่องมื รับรองให้กับนักวิจัยทุกคน ทำให้นักวิจัยมีกำลังใจและมีเครื่องมือที่เป็นระบบรับรองสิทธิขั้นพื้นฐานในฐานะนักวิจัย และการที่นักวิจัยเข้มแข็งก็จะทำให้ได้งานวิจัยที่ดี กฏหมายฉบับนี้จึงทำให้เรามีเครื่องมือนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพและแระสิทธิผล โดยสองกลุ่มหลักๆที่จะได้รับประโยชน์คือ สังคมและประเทศชาติ
ขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมชมงาน วันนักประดิษฐ์ 2566 ระหว่าง2-6 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09.00-17.00 ณ อีเว้นท์ ฮอลล์ 100-102 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา
No comments:
Post a Comment