‘สวนดุสิตโพล’ เผยคนไทยส่วนใหญ่มองขี่ช้าง-โชว์ช้างเป็นการทารุณสัตว์ - Thailand Times

Breaking

Post Top Ad

Friday 16 December 2022

‘สวนดุสิตโพล’ เผยคนไทยส่วนใหญ่มองขี่ช้าง-โชว์ช้างเป็นการทารุณสัตว์

สวนดุสิตโพลร่วมกับองค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ประเทศไทย จัดแถลงผลสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “ความคิดเห็นของประชาชนต่อการนำช้างมาใช้ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว กรณีศึกษา 

การแสดงโชว์ช้างและขี่ช้าง” ในวันที่ 16 ธันวาคม 2565 ณ โรงแรมศิวาเทล ชี้นักท่องเที่ยวไทยส่วนใหญ่  ไม่เห็นด้วยกับการทารุณกรรมช้างในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ซึ่งรวมถึงกิจกรรมขี่ช้างและโชว์ช้าง 
เร่งการท่องเที่ยวแนวทางอื่นที่ไม่ทำร้ายสัตว์ แนะภาครัฐและเอกชนเร่งปฏิรูปสวัสดิภาพช้างอย่างจริงจัง 
ดร.ณัฐพล แย้มฉิม ประธานสวนดุสิตโพล ชี้แจงและเผยผลสรุปสำคัญจากการสำรวจว่า  “การสำรวจ มีกลุ่มตัวอย่างเป็นชาวไทยอายุระหว่าง 16-55 ปี จำนวน 1,116 คน โดยส่วนใหญ่ หรือ  ร้อยละ 85.22 เคยไปแหล่งท่องเที่ยวที่มีการแสดงโชว์ช้าง ผลสำรวจพบว่า นักท่องเที่ยวไทยส่วนใหญ่  มองว่ากิจกรรมที่มีการนำช้างมาสร้างความบันเทิง เช่น การขี่ช้าง หรือแสดงโชว์ช้าง เป็นการทารุณกรรมสัตว์ โดยผู้ที่ตอบแบบสอบถาม ร้อยละ 76.60 มองว่า การแสดงโชว์ช้างเป็นการบังคับให้ช้างแสดงพฤติกรรมที่ผิดไปจากธรรมชาติของสัตว์ป่าและเป็นการทรมานช้าง นอกจากนี้ ร้อยละ 72.20 มองว่าสถานที่ท่องเที่ยวที่มีการนำช้างมาใช้ ไม่จำเป็นต้องมีการโชว์ของช้างหรือขี่ช้าง และร้อยละ 68.60 มองว่า
การโชว์ช้างเป็นการทารุณกรรมสัตว์ ยิ่งกว่านั้น ผู้ตอบแบบสอบถาม ร้อยละ 48.12 เห็นด้วยว่าการนำ

ช้างมาฝึกเพื่อแสดงโชว์ให้คนดูเป็นการทำลายสวัสดิภาพสัตว์  ในขณะที่ ร้อยละ 17.20 ไม่เห็นด้วย และอีกร้อยละ 34.68 ไม่แน่ใจ  เมื่อพิจารณาถึงกิจกรรมที่ทำเกี่ยวกับช้าง พบว่า การป้อนนมหรืออาหาร คิดเป็นร้อยละ 21.12  เล่นฟุตบอล/บาส/แชร์บอล ร้อยละ 12.41 โชว์วาดภาพ ร้อยละ 11.36 และ ขึ้นขี่ (รวมถ่ายภาพ) ร้อยละ 9.34 โดยสาเหตุสำคัญที่ทำให้นักท่องเที่ยวตัดสินใจไปท่องเที่ยวเกี่ยวกับช้างคือ การใช้เวลากับครอบครัว  เพื่อความสนุกเพลิดเพลิน และการพาลูกหลานไปเที่ยว ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 24.40, 19.94 และ 15.07 ตามลำดับ” 
นางแสงเดือน ชัยเลิศ ประธานมูลนิธิอนุรักษ์ช้างและสิ่งแวดล้อม ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นอัศวินจากประธานาธิบดีฝรั่งเศส ในฐานะผู้อนุรักษ์สัตว์และสิ่งแวดล้อมของโลก ร่วมอภิปรายแลกเปลี่ยนข้อมูลในฐานะที่ทำงานช่วยเหลือช้างอย่างต่อเนื่อง ให้รายละเอียดถึงเบื้องหลัง
การขี่ช้างและโชว์ช้าง ซึ่งสร้างความทารุณโหดร้ายแก่ช้างมากมาย เช่น การเอาแหย่งไว้บนหลังช้างตลอดทั้งวัน ทำให้ช้างได้รับบาดเจ็บอย่างรุนแรง ช้างบางตัวกระดูกทับเส้นประสาท กลายเป็นช้างพิการไปหลายตัว และการใช้งานช้างอย่างหนักยังทำให้ลูกช้างที่เกิดมาบางตัวพิการ ไม่แข็งแรง กระทั่งมีลูกช้างตายในท้องช้างอีกด้วย

นางแสงเดือนกล่าวเพิ่มเติมว่า “หน่วยงานของรัฐไม่เข้าใจเรื่องสวัสดิภาพช้างอย่างแท้จริง 
กลับส่งเสริมการแสดงโชว์ช้าง โดยเฉพาะการแสดงรูปแบบใหม่ที่ทำผ่านช่องทางออนไลน์ การตีแผ่ความโหดร้ายทารุณในอุตสาหกรรมเหล่านี้ควรเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ ที่จะต้องสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับประชาชนและหยุดส่งเสริมการแสดงโชว์ช้างในอนาคต และถึงแม้ว่ามาตราฐานปางช้างจะมีผลบังคับใช้แล้ว แต่มาตรฐานดังกล่าวยังต่ำอยู่ และยังปล่อยให้มีการใช้งานช้างอย่างหนัก รัฐควรจะต้องออกกฏหมายส่งเสริมสวัสดิภาพช้างอย่างจริงจังมากกว่านี้” 
นายฉัตรณรงค์ เมืองวงษ์ ผู้จัดการแคมเปญสัตว์ป่า องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ประเทศไทย เปิดเผยว่า “ผลสำรวจของสวนดุสิตโพลสะท้อนภาพเดียวกันกับเทรนด์การท่องเที่ยวในระดับโลก 

จากการสำรวจทัศนคติและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวหลากหลายเชื้อชาติขององค์กรฯ พบว่ากระแส  การท่องเที่ยวที่มีความรับผิดชอบ ไม่ทำลายธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงปกป้องสวัสดิภาพสัตว์  กำลังได้รับความนิยมเพิ่่มขึ้นเรื่อยๆ ในขณะเดียวกัน ในประเทศไทยได้มีรูปแบบการท่องเที่ยวช้าง  แบบทางเลือกที่เป็นมิตรต่อช้างเกิดขึ้นเป็นตัวอย่างแล้วหลายแห่งทั่วประเทศ ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถสนับสนุนการท่องเที่ยวในรูปแบบดังกล่าวได้ แทนการท่องเที่ยวช้างในรูปแบบเดิมที่เต็มไปด้วยความโหดร้ายทารุณต่อช้าง1 นอกจากนี้ แหล่งท่องเที่ยวที่มีการแสดงโชว์ช้าง ขี่ช้าง ควรจะเดินหน้าเปลี่ยนรูปแบบการท่องเที่ยวให้เป็นมิตรต่อช้างอย่างเร่งด่วนและยกเลิกการแสดงโชว์ช้าง ขี่ช้าง เพื่อตอบรับกับกระแสของนักท่องเที่ยวที่ไม่ต้องการเห็นช้างถูกทารุณ และเหนือสิ่งอื่นใดเพื่อให้ช้างในอุตสาหกรรม ฯหลุดพ้นจากวงจรแห่งความโหดร้ายทารุณนี้อย่างเร็วที่สุด” 
“องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ประเทศไทย ได้จัดทำ ‘ร่าง พ.ร.บ.ช้างไทย’ ฉบับภาคประชาสังคม  เพื่อปฏิรูปสวัสดิภาพช้างไทยทั้งระบบ โดยมีประชาชนร่วมลงชื่อสนับสนุนมากกว่า 16,000 คน และได้ยื่นร่างดังกล่าวเข้าสู่กระบวนการรัฐสภาแล้วเมื่อต้นปี 2565 ที่ผ่านมา “ขณะนี้ ร่างดังกล่าวยังรอการอนุมัติจากนายกรัฐมนตรี เราขอใช้โอกาสนี้เรียกร้องไปยังนายกรัฐมนตรีให้เร่งพิจารณาอนุมัติร่างดังกล่าวโดยเร็วที่สุด” นายฉัตรณรงค์ กล่าวทิ้งท้าย
สามารถดาวโหลดผลการสำรวจได้ที่ https://bit.ly/Dusit-Poll 
สถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นมิตรต่อช้างในประเทศไทยhttps://www.worldanimalprotection.or.th/elephant-friendly-guide


No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad


Pages