“ไทยเรล โลจิสติกส์” ผู้ให้บริการขนส่งสินค้าทางรางแบบครบวงจรรายเดียวในประเทศไทย เปิดตัวยิ่งใหญ่ มุ่งปีแรกสามารถให้บริการลูกค้าครอบคลุม ช่วยลดต้นทุนหลักเจ้าของสินค้า - Thailand Times

Breaking

Post Top Ad

Wednesday 7 September 2022

“ไทยเรล โลจิสติกส์” ผู้ให้บริการขนส่งสินค้าทางรางแบบครบวงจรรายเดียวในประเทศไทย เปิดตัวยิ่งใหญ่ มุ่งปีแรกสามารถให้บริการลูกค้าครอบคลุม ช่วยลดต้นทุนหลักเจ้าของสินค้า

ชี้วิกฤติพลังงานราคาน้ำมันแพง  ผู้ประกอบการหันหาทางเลือกเสริมขนทางรถไฟ  จากที่ขนด้วยรถบรรทุกอย่างเดียว ลดต้นทุนขนส่งกว่า50%    ด้าน รฟท.แจงปี2565 ขนส่งทางรางพุ่งกว่า 10% ขนสินค้าเพิ่มกว่า12ล้านตัน มูลค่า 1,500-2,000ล้านบาทและยังเติบโตต่อเนื่อง  ด้านสมาคมขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ไทย ชี้ทิศทางขนส่ง Hub and Spokการขนส่งแบบต่อเนื่อง  ที่มีการขนส่งทางรางเป็นแกนกลางมาแรง 
นางสาวณัฏฐา ธนกิจสถาพร ประธานบริหาร บริษัท ไทยเรล โลจิสติกส์ จำกัด เปิดเผย ว่า  การเปิดตัวบริษัทไทยเรล  โลจิสติกส์  จำกัด   อย่างยิ่งใหญ่ บริษัทฯมีความพร้อมในการเปิดให้บริการด้านการขนส่งสินค้าทางรางอย่างครบวงจร   เพื่อช่วยเพิ่มความสะดวกให้กับเจ้าของสินค้า และผู้ประกอบการ  ที่ต้องการขนถ่ายสินค้าไปทั่วประเทศ ในราคาที่ประหยัดลดต้นทุนให้กับผู้ใช้บริการที่อยู่ในช่วงเผชิญปัญหาวิกฤตพลังงานงาน  ราคาน้ำมันแพง   การขนส่งสินค้าทางรางจะช่วยลดต้นทุนให้ต่ำลงถึง50%


บริษัทไทยเรล โลจิสติกส์ จำกัด เป็นบริษัทขนส่งทางรางที่มีการขนส่งแบบครบวงจร ที่มุ่งเป็นบริษัทศูนย์กลางการขนส่งทุกหมวด ทั้งทางบก  ทางน้ำหรือเรือและทางอากาศ  การให้บริการของบริษัท   ไทยเรล  โลจิสติกส์ จำกัด มีครงวงจร   อาทิ  บริการขนส่งสินค้า   บริการลานตู้สินค้า  บริการให้เช่าคลังสินค้า  บริการจัดหาหัวจักร  บริการเช้าตู้สินค้า   บริการ Loding   อื่นๆอย่างครบวงจร    สามารถติดตามข้อมูลต่างๆของบริษัทได้ที่www.thairail-logistics.com  Page FB: Thairail Logistics Co.,Ltd.  

สำหรับฐานลูกค้าปัจจุบันที่ใช้บริการนั่นมีหลายราย  โดยล่าสุดได้ทดลองขนส่งสินค้าทางรถไฟ เส้นทางจุดหยุดรถศรีสำราญ จ.สุพรรณบุรี-สถานีบ้านทุ่งโพธิ์  อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี ขนส่งสินค้าให้กับบริษัทบุญรอดซัพพลายเชน จำกัด  การทดลองขนส่งสินค้าในครั้งนี้ทำให้ทราบว่า การขนส่งทางรถไฟจะช่วยเอื้ออำนวยความสะดวกในเรื่องของการขนส่งได้มากน้อยอย่างไร  รวมถึงการช่วยลดต้นทุนการขนส่ง  อุปสรรค ปัญหาที่จะเกิดขึ้นระหว่างการขนส่งจากต้นทางถึงปลายทาง การโหลดสินค้าขึ้นลง หรือขั้นตอนวิธีการต่าง ๆ จากการทดลองขนส่ง   เพื่อนำประสบการณ์นี้ไปปรับปรุงแก้ไขในเที่ยวขบวนจริงในอนาคต  


ส่วนกลุ่มลูกค้าอนาคต ตั้งเป้ากลางปีส่งสินค้าเต็มขบวนถึงปาดังเบซาร์ ประเทศมาเลเซียทุกวัน  วันละ 1 ขบวนไป-กลับ พร้อมเล็งส่งสินค้าเกษตร ผักผลไม้ไกลถึงจีน  ในส่วนขากลับจะมีสินค้ากลับมาด้วยเป็นยางพาราและกลุ่มสินค้าจำพวกอะไหล่อิเล็กทรอนิกส์จากท่าเรือปีนังของมาเลเซียที่ขนส่งจากอินเดียกลับมา เพื่อจะส่งต่อไปยังจีนและไต้หวัน           

“ไทยเรล โลจิสติกส์ยังมีนโยบายที่จะขนส่งสินค้าเกษตร ผลไม้ตามฤดูกาลไปให้ผู้ประกอบการนำเข้าผักผลไม้รายใหญ่ในจีนด้วย  ซึ่งปัจจุบันมีลูกค้าภาคอุตสาหกรรมและการเกษตรติดต่อเข้ามาค่อนข้างมาก ตัวอย่างหน่วยงานที่สนใจ เช่น  บริษัท ดีเอชแอล ซัพพลายเชน (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท Flash Express (แฟลชเอ็กซ์เพรส) บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน) บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัดและการท่าเรือ เป็นต้น”

นางสาวณัฏฐา กล่าวต่อว่า การขนส่งสินค้าทางรถไฟมีจุดเด่นในเรื่องความปลอดภัย ความปลอดภัยของคนขับที่ต้องขับรถระยะไกล ค่าใช้จ่ายด้านความเสื่อมสภาพรถยนต์และซ่อมบำรุงรถยนต์ต่ำลง น้ำมันราคาสูงขึ้นและช่วยลดปัญหาเรื่องมลพิษ
นายฐากูร อินทรชม ผู้อำนายการฝ่ายปฏิบัติการเตินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวว่าไทยเป็นประเทศผู้ผลิต การขนส่งมีการปรับตามการบริโภคของประชาชนและจำนวนผู้ประกอบการ  ปัจจุบันจำนวนรถบรรทุกมีจำนวนเพิ่มขึ้นทำให้มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น ทางผู้ประกอบการไทยเรล โลจิสติกส์เล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องของความปลอดภัย จึงมองว่า การขนส่งสินค้าทางรถไฟเป็นสิ่งที่น่าสนับสนุนต่อไป   และการเปิดบริการครงวงจรจะเพิ่มความสะดวก ประหยัดให้กับผู้ใช้บริการขนส่งทางรถไฟได้เป็นอย่างดี  

 

ปัจจุบันปริมาณการขนส่งสินค้าทางรถไฟมีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยขณะนี้กำลังดำเนินงานด้านการตลาดเชิงรุก เพื่อเพิ่มการขนส่งสินค้าทางรางโดยปี 65 มีเป้าหมายรายได้อยู่ที่ประมาณ 1,500-2,000 ล้านบาท มีปริมาณสินค้าประมาณ 12 ล้านตัน เพิ่มจากปี 64 ที่มีปริมาณสินค้าอยู่ที่ 11.3 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 2% โดยช่วงไตรมาส 1-2 ปี 65 ขนส่งสินค้าไปแล้วประมาณ 8.7-8.8 ล้านตัน และประเมินว่าช่วงครึ่งปีหลังปริมาณการขนส่งจะเป็นไปตามเป้าหมาย ส่วนในปี 66 คาดว่าการขนส่งสินค้าจะอยู่ที่ประมาณ 12.5 ล้านตัน เติบโตเฉลี่ย 2% จากปี 65

ดร.ปิยะนุช  สัมฤทธิ์  นายกสมาคมขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ไทย  เปิดเผยว่า สมาคมฯมีผู้ประกอบการขนส่งสินค้าด้วยรถบรรทุก  สินค้าส่วนใหญ่ที่ทำการขนส่งจะเป็นสินค้าประเภทอุปโภคบริโภค ปัจจุบันการให้บริการขนส่ง ด้วยรถบรรทุกประสบกับปัญหาราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นอย่างมากและการปรับราคาค่า ขนส่งก็จะมีผลกระทบต่อราคาสินค้าและส่งผลต่อค่าครองชีพของประชาชนโดยตรง 

ทิศทางการขนส่งสินค้าไทยจะเป็น Hub  and Spok รูปแบบการขนส่งต่อเนื่องที่ใช้ขนส่งทางรางเป็นแกนหลัก  ผู้ประกอบขนส่งต้องมีการปรับตัวและหาทางที่จะลดต้นทุนการขนส่งให้ต่ำลง ซึ่งแนวทางที่เป็นไปได้ก็คือ การขนส่งสินค้าในลักษณะ “Hub and Spoke” ซึ่งจะเป็นการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (Multi-modal Transport) กล่าวคือการขนส่งสินค้าทางรางเป็นแกนหลัก การขนส่งสินค้าทางราง (ต้นทุนการขนส่งถูกกว่าทางถนนประมาณ 2 เท่า) กำลังทวีความสำคัญมากขึ้น โดยจะเป็นเส้นทางที่มีระยะทางการขนส่งที่มากกว่า 300 กิโลเมตร ขณะที่การขนส่งด้วยรถบรรทุกจะทำหน้าที่เป็น Feeder เพื่อกระจายสินค้าต่อไปยังจุดปลายทางต่างๆ ต่อไป 

มีการเปิดตัว บริษัท ไทยเรล โลจิสติกส์ จำกัด ในฐานะผู้ ให้บริการขนส่งสินค้าทางราง โดยความร่วมมือกับการรถไฟแห่งประเทศไทย บริษัท ไทยเรลฯ จะได้มีโอกาสในการพัฒนาความร่วมมือทางธุรกิจการขนส่งสินค้า ในลักษณะการขนส่งสินค้าต่อเนื่องหลายรูปแบบระหว่างการขนส่งสินค้าทางรถไฟและรถบรรทุก ในอนาคตอันใกล้นี้ซึ่งจะช่วยให้สามารถลดต้นทุนการขนส่งสินค้าให้ต่ำลง เพื่อให้ผู้ผลิตหรือผู้ประกอบธุรกิจของประเทศไทยสามารถ ที่จะแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ได้ในเวทีการค้าโลกต่อไป 









 

No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad


Pages