GISTDA ชวนเยาวชนไทยออกไอเดียสร้างสรรค์นิทรรศการ “THEOS-2 ความหวังอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอวกาศไทย” - Thailand Times

Breaking

Post Top Ad

Friday 26 August 2022

GISTDA ชวนเยาวชนไทยออกไอเดียสร้างสรรค์นิทรรศการ “THEOS-2 ความหวังอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอวกาศไทย”

สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA จัดกิจกรรม “GISTDA Classroom Challenge” เปิดโอกาสให้นักเรียน-นักศึกษาระดมทีม โชว์ความคิดสร้างสรรค์ อวดแพชชั่นเรื่องเทคโนโลยีอวกาศ จุดประกายความหวังเทคโนโลยีอวกาศไทย สร้างสรรค์ผลงานผ่าน Immersive Exhibition ในหัวข้อ “THEOS-2 ความหวังอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอวกาศไทย” นิยามของ Immersive Exhibition ดังเปรียบเทียบได้กับ Immersive Art โดยอ้างอิงจาก (https://www.creativethailand.org/view/article-read... ) นั้นคือ งานนิทรรศการที่ทำให้ผู้ชมได้รู้สึกเหมือนตนเองได้เป็นส่วนหนึ่งของงานนิทรรศการนั้นๆ ได้มีส่วนร่วม และได้มีปฏิสัมพันธ์กับผลงานที่หลุดออกมาจากกรอบเดิม ๆ แถมยังเคลื่อนไหวได้อย่างมีชีวิตชีวา ซึ่งหากเปรียบเทียบให้เกิดความเข้าใจให้ง่ายคือ สำหรับการจัดนิทรรศกาลแบบปรกติที่เพียงแต่แขวนภาพไว้บนผนัง กับการจัดนิทรรศการในรูปแบบใหม่ๆ ทั้งที่ตั้งจากพื้น หรือการแขวนมาจากเพดาน หรือการใช้วิดีทัศน์ร่วมกับการแสดงงานศิลปะนั้นล้วนแต่ช่วยดึงดูดและส่งเสริมงานแสดงศิลปะนั้นๆ จึงทำให้มีผู้เข้าชมงานมากกว่าในแบบดั่งเดิม อีกทั้งการจัด Immersive Art นั้น สร้างเสริมประสบการณ์ในการเยี่ยมชมงานของผู้เข้าชม ดังนั้นจึงไม่แน่แปลกใจเลยที่จะมีผู้เข้าชมงานจำนวนมากที่พร้อมจะตรงดิ่งมาสู่งานนิทรรศการรูปแบบใหม่นี้มากขึ้นเรื่อย ๆ  

คุณสมบัติผู้เข้าร่วมกิจกรรม

• ผู้สมัครจะต้องเข้าร่วมแข่งขันเป็นทีม ทีมละไม่ตำกว่า 25 ท่าน ยกตัวอย่างเช่น 1 ห้องเรียน

และมีอาจารย์ที่ปรึกษาไม่เกิน 2 ท่าน

• ผู้สมัครจะต้องสมัครในนามสถานศึกษาใด สถานศึกษาหนึ่งเท่านั้น

• สำหรับผู้ต้องการเข้าร่วมกิจกรรมในระดับชั้นมัธยมศึกษาจะต้องมีอายุ 15-18 ปี 

• สำหรับผู้ต้องการเข้าร่วมกิจกรรมในระดับอุดมศึกษาจะต้องมีอายุ 18 -21 ปี 

• ผู้เข้าร่วมสมัครจะต้องมีความสนใจหรือกำลังศึกษาในเรื่องเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ

  

ขั้นตอนการรับสมัคร 

• เปิดรับสมัคร ตั้งแต่วันนี้ – 2 กันยายน 2565 ผ่านทางอีเมล spaces.classroomchallenge@gmail.com โดยหลังจากที่ผู้จัดได้รับใบสมัครแล้ว ทางผู้จัดจะจัดส่งเอกสารเกี่ยวกับโครงการ THOES-2 เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นให้ผู้เข้าร่วมจัดทำโครงงานเพื่อนำเสนอให้คณะกรรมการคัดเลือกต่อไป

• ประกาศทีมที่ผ่านการคัดเลือก ทางแฟนเพจ GISTDA

โดยแบ่งเป็น 2 ทีม สำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่อยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษา

และ 2 ทีม สำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่อยู่ในระดับชั้นอุดมศึกษา

• การคัดเลือกจากคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด


ขั้นตอนการคัดเลือก

• ทีมผู้ร่วมกิจกรรมจะต้องส่งเอกสารโครงงานเกี่ยวกับการจัดทำนิทรรศการด้านเทคโนโลยีอวกาศและ THEOS-2 โดยร้อยละ 50 ของคอนเทนต์ที่ผลิตต้องเกี่ยวข้องกับ THEOS-2 และวิธีจัดทำ immersive exhibition นั้นจะต้องมีความสร้างสรรค์ สามารถจัดทำได้จริง และบอกเล่าเรื่องราวได้น่าสนใจ

• เอกสารโครงงานจะต้องส่งมาพร้อมชื่อและนามสกุลของสมาชิกในทีมทั้งหมด พร้อมชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา และแนบสำเนาบัตรนักเรียน/นักศึกษาของสมาชิกทุกท่าน

ภาพถ่ายกลุ่มกิจกรรม หรือภาพที่ capture screen จากการประชุมออนไลน์

  โครงงานที่ได้รับเลือกให้จัดทำนิทรรศการนั้นจะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้

• ส่วนหนึ่งของนิทรรศการจะต้องนำมาจัดแสดงในวันแถลงข่าวการปล่อยดาวเทียม THEOS-2 ณ Faamai Dome กรุงเทพมหานคร ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2566 (อาจจะมีการเปลี่ยนแปลง)

• สมาชิกจำนวน 3 ท่านพร้อมอาจารย์ที่ปรึกษาไม่เกิน 2 ท่าน ที่ร่วมจัดทำนิทรรศการ จะต้องเข้าร่วมแสดงงานในงานวันแถลงข่าว ณ สถานที่จัดงาน เพื่อนำเสนอโครงงานต่อผู้ที่เข้าร่วมงานแถลงข่าว (จะแจ้งวันเวลาให้ทราบต่อไป)

• ผู้จัดจะจัดเตรียมพื้นที่ขนาด 2x2 ม. และสมาร์ททีวีขนาด 45 นิ้ว ไว้ให้ผู้ที่ได้รับคัดเลือกทั้ง 4 ทีม สำหรับประกอบการนำเสนอ

ระหว่างการจัดทำผลงาน 

• ผู้จัดจะเข้าไปบันทึกภาพเบื้องหลัง อีกทั้งยังมีการสัมภาษณ์เพื่อการจัดนำข้อมูลเบื้องหลังการจัดนิทรรศการของแต่ละทีม


สิทธิประโยชน์สำหรับผู้ที่ได้รับการคัดเลือกทั้ง 4 ทีม

• ผู้ที่ผ่านเข้ารอบจะได้รับเงินสนับสนุนจากโครงการทีมละ 15,000 บาท

• สำหรับการเข้าร่วมงานแถลงข่าว ทางผู้จัดได้จัดเตรียมค่าเดินทางและที่พัก กรณีต้องเดินทางเข้ามาร่วมงานแถลงข่าวเพื่อจัดแสดงผลงาน และรับใบประกาศนียบัตร โดยทั้ง 4 ทีมจะได้รับได้รับเกียรติบัตรในด้านต่าง ๆ ต่อไปนี้ รางวัลละ 1 ทีม (โดยไม่แบ่งแยกระดับการศึกษา) ได้แก่


โดดเด่นด้านการเล่าเรื่อง (Best Story-telling)

** หลักเกณฑ์การคัดเลือกคือ ทีมที่นำเสนอผลงานและแนวคิดออกมาได้น่าสนใจ โดยใช้การเล่าเรื่องสร้างความเป็นเอกภาพในงาน ให้เกี่ยวเนื่องสอดคล้องกันตลอดทั้งผลงาน


โดดเด่นด้านการสร้างแรงบันดาลใจในการใช้เทคโนโลยี (Best Inspiration)

** หลักเกณฑ์การคัดเลือกคือ ผลงานและแนวคิดของทีมนั้นๆ ส่งต่อแรงบันดาลใจในการใช้เทคโนโลยีอวกาศให้กับผู้ชม


โดดเด่นด้านผูกโยงกับชุมชน (Best Localization)

** หลักเกณฑ์การคัดเลือกคือ ผลงานและแนวคิดของทีมนั้นๆ แสดงความเกี่ยวเนื่องระหว่างเทคโนโลยีอวกาศและชุมชนอย่างชัดเจน ยั่งยืน และเป็นรูปธรรม


โดดเด่นด้านความคิดสร้างสรรค์ (Best Creativity)

** หลักเกณฑ์การคัดเลือกคือ ทีมที่นำเสนอผลงานและแนวคิดออกมาอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ สดใหม่ มอบมุมมองใหม่ ๆ ให้กับผู้ชม


สมัครได้แล้วตั้งแต่วันนี้ – 2 กันยายน 2565 ทางอีเมล spaces.classroomchallenge@gmail.com

ระบุชื่ออีเมลว่า “สมัคร Classroom Challenge”

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง inbox ของ GISTDA หรือ อีเมล spaces.classroomchallenge@gmail.com 

No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad


Pages