สวค. จับมือ สกสว. เปิดเวทีประชุม ‘Blue Marble Evaluation’ แนวคิดการประเมินระดับโลก สู่การประเมินการวิจัยไทย - Thailand Times

Breaking

Post Top Ad

Wednesday 21 July 2021

สวค. จับมือ สกสว. เปิดเวทีประชุม ‘Blue Marble Evaluation’ แนวคิดการประเมินระดับโลก สู่การประเมินการวิจัยไทย

21 กรกฎาคม 2564 ผศ.ดร. ประพัฒชนม์ จริยะพันธุ์  ผู้อำนวยการสำนักงานติดตามและประเมินผล สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาวิชาการ ครั้งที่ 4 ภายใต้ หัวข้อ “Blue Marble Evaluation” หรือ “แนวคิดการประเมินหินอ่อนสีน้ำเงิน” ซึ่งเป็นแนวคิดการประเมินที่นิยามโลกทั้งโลกเป็นหน่วยได้รับการประเมิน โดยมีตัวอย่างประเด็นประเมินที่สำคัญ อาทิ การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ผู้ลี้ภัย  มลพิษในมหาสมุทร ความยากจน  การก่อการร้าย  การค้ามนุษย์  เศรษฐกิจโลก  โรคระบาดใหญ่ เป็นต้น 

โดยการจัดงานครั้งนี้ ถือเป็นกิจกรรมสำคัญส่วนหนึ่งของ โครงการจัดตั้งกลุ่มความร่วมมือ (Consortium) ของผู้ประเมินการวิจัยและนวัตกรรม เพื่อพัฒนารูปแบบการติดตามและการประเมินผลการวิจัยและนวัตกรรม ภายใต้ระบบวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมของชาติ ที่จัดขึ้นโดยมูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง (มูลนิธิ สวค.)  ร่วมกับ สกสว. เพื่อให้ผู้บริหารและบุคลากรในระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ระบบ ววน.) มีความรู้ความเข้าใจถึงแนวทางการประเมินผลงานวิจัยและนวัตกรรมมาก ผ่านมุมมองแนวคิด “Blue Marble Evaluation” มากขึ้น 

ศาสตราจารย์ ดร.ไมเคิล ควินน์ แพตตัน   ที่ปรึกษาและอดีตประธาน สมาคมการประเมินผลแห่งสหรัฐอเมริกา (The American Evaluation Association : AEA)  และศาสตราจารย์จากศูนย์ประเมินแคลร์มอนต์ (The Claremont Evaluation Center : CEC) ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้บรรยายถึงแนวคิด “Blue Marble Evaluation” หรือ “แนวคิดการประเมินหินอ่อนสีน้ำเงิน” ไว้ว่า โลกทัศน์ “Blue Marble”   หมายถึง วิธีมอง วิธีคิดระดับภาพรวมของโลก  คิดเป็นองค์รวม  และคิดกระบวนระบบ ซึ่งมีที่มาจากแนวคิดภาพถ่ายชื่อ  “The Blue Marble” ซึ่งเป็นภาพฝถ่ายของโลก เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1972 ที่ถ่ายโดยแฮร์ริสสัน ชมิตต์ (Harrison Schmitt) นักธรณีวิทยาคนแรกที่ร่วมเดินทางไปกับยานอวกาศอะพอลโล 17 (Apollo 17) ที่เดินทางไปยังดวงจันทร์  ดังนั้นเมื่อนำมาใช้กับการประเมิน จึงหมายถึงการประเมินในมิติภาพรวมของโลก ซึ่งในทางปฏิบัตินักประเมินต้องคิดระดับโลก แต่ดำเนินการระดับพื้นที่ (Think globally, act locally)  และประเมินทั้ง 2 ระดับ ระดับโลกและระดับพื้นที่ (Evaluate both globally and locally)   โดยมีเป้าหมายสำคัญไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

ที่ผ่านมา ผู้คนต่างพบเจอปัญหาเหมือนๆกัน คือการทำงานแบบผู้กำหนดนโยบายเป็นผู้ออกแบบ และจัดทำขึ้นมา หรือแบบ Top Down ที่ค่อนข้างคล้ายคลึงกันทั่วโลก ซึ่งบางครั้งนโยบายดังกล่าวส่งผลให้การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างเชื่องช้า ดังนั้นจึงต้องใช้วิธีการประเมินผ่านการทำงานร่วมกัน คือ เชื่อมร้อยคนละภาคส่วนมาทำงานร่วมกัน เพื่อลดอุปสรรคในการประเมิน ทั้งในแง่ของการวัด ประเมินระบบ และประมวล การคิด แม้ตอนนี้เป็นช่วงของภาวะฉุกเฉินที่ทั่วโลกและประเทศไทยประสบปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด 19 แต่ก็เป็นช่วงของการเร่งคิด เร่งทำ อย่างเร่งด่วน ไม่เว้นแม้แต่เรื่องของการประเมินอย่างงานวิจัยและนวัตกรรม ซึ่งผู้ประเมินต้องปฏิบัติให้สอดคล้องกับนโยบาย  ซึ่งองค์กรต่างๆ ขณะนี้ก็พยายามทำงาน โดยใช้มุมมองแบบองค์รวม (Holistic) อย่างในสหรัฐอเมริกาตอนนี้หน่วยงานประเมินงานวิจัย ก็ต้องทำงานกับนักวิจัยอีกกระทรวงหนึ่ง เรามีการขยายกิจกรรมที่ให้ความรู้และพวกเราจะต้องเรียนรู้ไปด้วยกัน ที่แม้ว่าจะเป็นก้าวเล็กๆ แต่ต้องเริ่มลงมือทำเลย ดังนั้นจึงต้องสร้างความเชื่อมโยง สร้างเครือข่ายระหว่างภูมิภาค เพื่อทำให้การประเมินเป็นเครื่องมือสำคัญหนึ่งในการพัฒนาอย่างยั่งยืน



No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad


Pages