โลกเปลี่ยน มหาวิทยาลัยปรับโฉม... ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ในโอกาสมามอบนโยบายให้กับคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมทั้งเยี่ยมชมผลงานวิจัยนวัตกรรม โดยมี รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีความเป็นเลิศ และประสบความสำเร็จในหลายด้าน พร้อมด้วยทีมบริหาร หัวหน้าภาควิชา คณาจารย์ นักวิจัย และบุคลากร ให้การต้อนรับ ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ในนิทรรศการแสดงผลงานส่วนหนึ่งของนวัตกรรมเพื่อรองรับโลกอนาคตนั้น ครอบคลุม 4 คลัสเตอร์ ได้แก่ 1. ด้านวิศวกรรมสุขภาพและการแพทย์ (Healthcare Engineering) 2. ด้านโลจิสติกส์และวิศวกรรมระบบขนส่งทางราง (Logistics and Railway Engineering) 3. ด้านวิศวกรรมดิจิทัล (Digital Engineering) และ 4. ด้านวิศวกรรมเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Engineering) หลากหลายนวัตกรรม อาทิเช่น หุ่นยนต์ทดสอบวัคซีนอัจฉริยะ (AI-Immunizer) , นวัตกรรม BCI (Brain-Computer Interface Race: BCI) โดยทีม Mahidol BCILAB ซึ่งคว้าเหรียญเงิน การแข่งขัน “ไซบชาธอน 2020 (Cybathlon)” ที่เปรียบเสมือนโอลิมปิกแห่งเทคโนโลยีระดับโลกเพื่อผู้พิการ ประเภท BCI ควบคุมการแข่งขันรถด้วยคลื่นสมองเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ , Biosensors for Med Application (COVID) , โครงการพัฒนายกระดับโลจิสติกส์โรงพยาบาล (Healthcare Logistics) , โครงการพัฒนาระบบราง เมืองศาลายา (Salaya Rail-TOD Project) , จับใจ...เอไอแชทบอทเพื่อผู้ป่วยซึมเศร้า (AI-Jubjai ChatBot) , นวัตกรรมรถพยาบาลเคลื่อนที่ เพื่อรักษาผู้ป่วยหลอดเลือดสมองฉับพลัน (Stroke Mobile Unit) , โครงการประเมินวัฏจักรชีวิต บรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มประเภทกระป๋องอะลูมิเนียมและบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่ม (Aluminum Can Life-Cycle) และ Label No.5 “ฉลากประหยัดพลังงานประสิทธิภาพสูง” โดยในปี 2562 มีการติดฉลากประหยัดพลังงานประสิทธิภาพสูงใน 19 ประเภทผลิตภัณฑ์ อีกด้วย
ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นมหาวิทยาลัยที่มีความเป็นเลิศและประสบความสำเร็จในหลายๆ ด้าน ควรถอดบทเรียนความสำเร็จแบบมหิดล ให้เป็นตัวอย่างและเป็นต้นแบบแก่มหาวิทยาลัยอื่นๆ ในด้านการบริหาร ว่าสร้างขึ้นมาได้อย่างไร จากความเป็นเลิศทางการแพทย์ กลายเป็นความเป็นเลิศอย่างรอบด้านได้อย่างไร สิ่งเหล่านี้จะเป็นการยกระดับและพัฒนามหาวิทยาลัยของไทย ให้ก้าวไกลไปด้วยกันสู่ระดับโลก นอกจากนี้มหาวิทยาลัยไทยควรขยายความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในประเทศต่างๆ เพื่อพัฒนาการศึกษาและทำวิจัยร่วมกัน
นอกจากนี้ การแพทย์และสาธารณสุขก็เป็นอีกเรื่องที่มี Disruptive Change สูงมาก อยากจะเห็นการแพทย์สาธารณสุขของเราเจริญก้าวหน้า จากสถานการณ์โควิดนั้นเราพึ่งพาตนเองทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้น้อย ทำอย่างไรให้ประเทศผลิตยาได้เองมากขึ้น มีอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ สาธารณสุขที่ดี พึ่งพาตัวเองได้มากขึ้น หากทำได้ก็จะเกิดประโยชน์ต่อชาติบ้านเมืองได้อีกมาก
No comments:
Post a Comment