CAT เพาะพันธุ์ดี เปิดตัวนวัตกรรมต้นแบบโซลูชัน CAT Digital Farm ครบวงจร ​ ​สนับสนุนวิสาหกิจชุมชนปลูกผักปลอดสาร จ.ขอนแก่น - Thailand Times

Breaking

Post Top Ad

Wednesday 30 September 2020

CAT เพาะพันธุ์ดี เปิดตัวนวัตกรรมต้นแบบโซลูชัน CAT Digital Farm ครบวงจร ​ ​สนับสนุนวิสาหกิจชุมชนปลูกผักปลอดสาร จ.ขอนแก่น

CAT เดินหน้าโครงการ “CAT เพาะพันธุ์ดี” สนับสนุนนวัตกรรมเกษตรครบวงจร CAT Digital Farm ให้กับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลูกผักปลอดสาร บ้านหนองหญ้าข้าวนก  ณ บ้านหนองหญ้าข้าวนก ตำบลหนองแวง อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2563
พันเอก สรรพชัย หุวะนันทน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT  เปิดเผยว่า CAT มุ่งมั่นนำศักยภาพองค์กรด้านการสื่อสารโทรคมนาคมและเทคโนโลยีดิจิทัลขับเคลื่อนสนับสนุนเกษตรกรก้าวไปสู่การเป็น Smart Farmer อย่างเข้มแข็งและยั่งยืนผ่าน “โครงการ CAT เพาะพันธุ์ดี” โดยล่าสุดโครงการฯ ได้เปิดตัวผลงานนวัตกรรมเกษตรครบวงจรในรูปแบบโซลูชัน “CAT Digital Farm” ด้วยแนวคิดเชื่อมโยงเกษตรดิจิทัล 3 มิติ ทั้งในด้านการผลิต การบริหารจัดการ และด้านการตลาด

​ความครบถ้วนของโซลูชันทั้ง 3 ระบบของ CAT Digital  Farm  ประกอบด้วย 1. ระบบแปลงเกษตรอัจฉริยะ (IoT Smart Farm) เซ็นเซอร์ควบคุมน้ำและความชื้นช่วยลดต้นทุนการผลิตในแปลงเกษตรโดยประหยัดเวลาและแรงงาน 2.ระบบซอฟต์แวร์บริหารจัดการวิสาหกิจ (Farm Management) ยกระดับด้านการบริหารจัดการเครือข่ายของวิสาหกิจชุมชน ช่วยให้ผู้นำกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสามารถบริหารจัดการข้อมูลสมาชิก ควบคุมปริมาณและประเภท ผลผลิตของสมาชิกให้ตรงความต้องการของตลาด ช่วยเพิ่มอำนาจต่อรองกับตลาดให้ผลผลิตได้ราคาดี และบริหารคลังสินค้า (Inventory) ได้รวดเร็วแม่นยำ   และ 3. ระบบการตลาดดิจิทัล (Digital Marketing) โดยเชื่อมโยงวิสาหกิจชุมชนเข้ากับตลาดออนไลน์ ได้แก่  iGet Mart,  Thailand Post Mart รวมถึงเฟซบุ๊กเพจ “กลุ่มปลูกผักปลอดสารบ้านหนองหญ้าข้าวนก” ซึ่งจะเป็นการต่อยอดดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งขยายความสามารถในการจำหน่ายสินค้าของวิสาหกิจฯ นอกเหนือจากตลาดหลักคือห้างสรรพสินค้า ตลาดชุมชนต่าง ๆ

นอกจากนี้ ระบบ CAT Digital Farm ได้เชื่อมกับระบบ QR Trace มาตรฐานอาหารปลอดภัยของ มกอช.เพื่อแสดงต้นกำเนิดสินค้าและรับรองว่าเป็นสินค้าปลอดภัยได้ซึ่งช่วยให้สินค้าของชุมชนเพิ่มความสามารถแข่งขันทางการค้า และตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่ปัจจุบันให้ความสำคัญในเรื่องคุณภาพมาตรฐานและความปลอดภัยของสินค้าเกษตรและอาหารเป็นอย่างมาก

​CAT Digital Farm ต้นแบบโซลูชันเกษตรดิจิทัลครบวงจร สำหรับโครงการ “CAT เพาะพันธุ์ดี” นำมาทดลองใช้งานเป็นแห่งแรก ณ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลูกผักปลอดสารบ้านหนองหญ้าข้าวนก จ.ขอนแก่น   ออกแบบและพัฒนาโดยทีมงานของ CAT ร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นนวัตกรรมแพลตฟอร์มสำหรับวิสาหกิจชุมชนโดยเฉพาะ ตอบโจทย์ของเกษตรชุมชนได้อย่างครบถ้วนตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ จากการผลิตที่มี



 

ประสิทธิภาพไปจนถึงในการนำสินค้าสู่ผู้บริโภคในทุกตลาดอันจะสร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับชุมชนและแก้ปัญหาความยากจนได้อย่างยั่งยืน  โดยในอนาคตโครงการ “CAT เพาะพันธุ์ดี” มีแผนพัฒนาโมเดลต้นแบบนี้ให้เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ และส่งมอบระบบ CAT Digital Farm ให้กับชุมชนอื่น ๆ ได้แก่ โรงเรียนเทศบาล 2

จ.พิจิตร  วิสาหกิจชุมชนหนองสาหร่าย จ.กาญจนบุรี  และวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเชียงราย จ.เชียงราย

​ การส่งมอบระบบดิจิทัลฟาร์มให้กับเกษตรกรในพื้นที่ต่าง ๆ เป็นกิจกรรมหลักที่โครงการ CAT เพาะพันธุ์ดี มุ่งมั่นดำเนินการมาตลอด เพื่อนำศักยภาพในด้านการสื่อสารโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสื่อสารดิจิทัลซึ่งเป็นจุดแข็งของ CAT มาสนับสนุนเกษตรกรกลุ่มต่างๆ ให้ก้าวไปสู่การเป็น Smart Farmer และอีกหนึ่งความตั้งใจคือการช่วยแก้ไขปัญหาขจัดความยากจนให้กับเกษตรกร ซึ่งเป็นกลุ่มอาชีพหลักของประเทศ ให้มีเครื่องมือในการพัฒนาวิชาชีพเกษตรโดยใช้เทคโนโลยีทำให้สามารถพัฒนาผลผลิตได้ทั้งคุณภาพและปริมาณ รวมถึงการเพิ่มโอกาสในการขายสินค้าเกษตรบนแพลตฟอร์มออนไลน์บน e-Market place เพื่อโอกาสในการสร้างรายได้เพิ่มมากขึ้นเนื่องจาก CAT เล็งเห็นความสำคัญของการใช้เทคโนโลยีพัฒนาเกษตรกรรมซึ่งเป็นอาชีพหลักของประชากรไทย และพร้อมนำจุดแข็งของหน่วยงานพัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรมรูปแบบดิจิทัลฟาร์มเพื่อสนับสนุนเกษตรกรรมซึ่งเป็นอาชีพหลักของประชากรไทย

นับเป็นผลงานจากการสานต่อและผนึกกำลังความร่วมมืออย่างจริงจังของหน่วยงานภาครัฐ (จังหวัดขอนแก่น  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เกษตรจังหวัดขอนแก่น อบต.หนองแวง)  พร้อมทั้งคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) ศูนย์วิจัยและพัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรที่ดินและน้ำแบบบูรณาการภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มูลนิธิโคคา โคล่า ศูนย์มีชัยบ้านไผ่ ชุมชนท้องถิ่น เครือข่ายเกษตรกรในพื้นที่ (ศพก., กลุ่ม Young Smart Farmer )  โดยทุกฝ่ายมุ่งบรรลุเป้าหมายการพัฒนาเกษตรแปลงใหญ่ในจังหวัดขอนแก่น  และเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาสมาร์ตซิตี้ขอนแก่น  ซึ่งนับเป็นหนึ่งในจังหวัดที่ตื่นตัวก้าวหน้าด้านเมืองอัจฉริยะระดับต้น ๆ ของประเทศ​

No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad


Pages