สวพส. ร่วมกับอำเภอเฉลิมพระเกียรติ และส่วนราชการในจังหวัดน่าน การทำแนวป้องกันไฟป่าสองแผ่นดิน - Thailand Times

Breaking

Post Top Ad

Thursday 21 March 2024

สวพส. ร่วมกับอำเภอเฉลิมพระเกียรติ และส่วนราชการในจังหวัดน่าน การทำแนวป้องกันไฟป่าสองแผ่นดิน

สวพส. ร่วมกับอำเภอเฉลิมพระเกียรติ และส่วนราชการในจังหวัดน่าน  

จัดกิจกรรม การทำแนวป้องกันไฟป่าสองแผ่นดิน ลดความยากจน ลดการเผา และฝุ่น PM 2.5  

ณ บ้านห้วยโก๋น ตำบลห้วยโก๋น อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน   

วันที่ 16 มีนาคม 2567 สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) หรือ สวพส. จัดงานกิจกรรมการทำแนวป้องกันไฟป่าสองแผ่นดิน และการประยุกต์ใช้องค์ความรู้จากงานวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน ลดการเผา และฝุ่น PM 2.5 แบบบูรณาการและมุ่งเป้า ณ บ้านห้วยโก๋น ตำบลห้วยโก๋น อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน  โดยได้รับเกียรติจาก นายเทวา ปัญญาบุญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน เป็นประธานในพิธีเปิดพร้อมมอบนโยบายเกี่ยวกับแนวทางป้องกันไฟป่าสองแผ่นดิน และการประยุกต์ใช้องค์ความรู้จากงานวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน ลดการเผา และฝุ่น MP 2.5 แบบบูรณาการและมุ่งเป้า เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ  โดยมีรองเจ้าเมืองเงิน ผู้แทนแขวงไซยะบุรี เกษตรกร สปป.ลาว เกษตรกรในพื้นที่ตำบลห้วยโก๋น ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไปผู้สนใจ กว่า 400 คน เข้าร่วมกิจกรรม   

นายเทวา ปัญญาบุญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน  กล่าวเปิดงานว่า การจัดกิจกรรม“การทำแนวป้องกันไฟป่าสองแผ่นดิน และการประยุกต์ใช้องค์ความรู้จากงานวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน ลดการเผา และฝุ่น PM 2.5 แบบบูรณาการและมุ่งเป้า” เป็นกิจกรรมที่ดีในการเผยแพร่และถ่ายทอดองค์ความรู้โครงการหลวงเกี่ยวกับแนวทางการปรับระบบเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดใช้สารเคมี ลดการเผา เพื่อเป็นทางเลือกในการพัฒนาอาชีพ และแก้ไขปัญหาความยากจนให้กับประชาชนบนพื้นที่สูงในเขตชายแดนประเทศไทย และประชาชนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น กระตุ้นจิตสำนึกและรณรงค์ประชาสัมพันธ์เผยแพร่องค์ความรู้การป้องกันแก้ไขปัญหาไฟป่าและการเผาในที่โล่ง สามารถสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการควบคุมไฟป่า รวมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการป้องกันแก้ไขปัญหามลพิษจากหมอกควันไฟป่าได้อย่างยั่งยืน  

ดร.เพชรดา อยู่สุข  รองผู้อำนวยการสถาบันด้านการพัฒนา สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) กล่าวว่า สวพส.ได้จัดกิจกรรมการทำแนวป้องกันไฟป่าสองแผ่นดิน และการประยุกต์ใช้องค์ความรู้จากงานวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน ลดการเผา และฝุ่น PM 2.5 แบบบูรณาการและมุ่งเป้า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันเฉลิมพระเกียรติในปีมหามงคล โดยร่วมกับอำเภอเฉลิมพระเกียรติ และส่วนราชการในจังหวัดน่าน จัดกิจกรรม สืบเนื่องจากในช่วงหลังเดือนธันวาคมของทุกปีซึ่งเป็นช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิต และมีเศษพืชที่เหลือจำนวนมาก หากจัดการไม่เหมาะสมและถูกวิธีจะส่งผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมได้ โดยเฉพาะในพื้นที่อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งเป็นพื้นที่เป้าหมายในการขยายการพัฒนาของโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงในจังหวัดน่าน เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนบนพื้นที่สูงในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเผาในพื้นที่การเกษตร   

สำหรับกิจกรรมการทำแนวป้องกันไฟป่าสองแผ่นดิน ลดความยากจน ลดการเผา และฝุ่น PM 2.5 แบบบูรณาการและมุ่งเป้า ณ บ้านห้วยโก๋น ตำบลห้วยโก๋น อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน มีจุดแสดงนิทรรศการองค์ความรู้ที่จะคอยถ่ายทอดให้กับผู้เข้าร่วมงาน ดังนี้ 

1. แนวทางการปรับระบบเกษตรด้วยเกษตรมูลค่าสูง ด้วยพืชผักในโรงเรือน พืชไร่และไม้ผลเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้วยองค์ความรู้จากผลงานวิจัย เพื่อการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน  

2. กาแฟฟื้นฟูป่า และการพัฒนาสินค้าชุมชนเพื่อเพิ่มมูลค่า  

3. การพัฒนาช่องทางการตลาดด้วย GREEN PRODUCT: ผลผลิตที่ไม่บุกรุกป่า จากพื้นที่ไม่เผา ช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียว   

4. แนวทางการพัฒนามาตรฐานสินค้าเกษตร   

5. การทำปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยหมัก   

6. การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเศษวัสดุเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่าด้วยผลิตภัณฑ์จากใบไม้ และการเพาะเห็ด   

7. การสร้างอาหารธรรมชาติจากเศษวัสดุเหลือใช้ : ฟางบอล   

8. การส่งเสริมการเรียนรู้องค์ความรู้พื้นที่สูงผ่านระบบเทคโนโลยีดิจิทัล  

9. การส่งเสริมอาชีพผ้าถักรองเขียงจากเศษวัสดุ  

10. อันตรายจากฝุ่น PM 2.5 และการดูแลป้องกันเบื้องต้น  

11. รณรงค์ลดการเผา และบริหารจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร  

12. การบริหารจัดการข้อมูลเพื่อการแก้ไขปัญหาการเผาอย่างบูรณาการ และแนวทางการป้องกันไฟป่าและบริหารจัดการไฟตามหลักวิชาการ/ตามมาตรการของจังหวัด  

13. การจัดการเศษวัสดุการเกษตรเพื่อลดการเผาด้วยชีวมวลอัดแท่ง  

14. องค์ความรู้จากผลงานวิจัย เพื่อการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน 







No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad


Pages